จะวางแผนการเงินทั้งทีต้องดูให้รอบด้าน

จะวางแผนการเงินทั้งทีต้องดูให้รอบด้าน

ตามหลักวิชาการวางแผนการเงินที่เป็นสากลและทั่วโลกให้การยอมรับนั้น แผนทางการเงินที่ดีนอกจากจะมีเรื่องแผนของการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินที่มีอยู่ ด้วยวิธีการนำไปลงทุนอย่างเหมาะสมแล้ว ยังจะต้องมีแผนของการปกป้องรักษา หรือคุ้มครองทรัพย์สินที่สร้างมาอย่างครอบคลุมอีกด้วย

หลายคนอาจจะให้แต่ความสำคัญของการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีการต่างๆ มากมายทั้งแบบที่เรียบง่ายอย่างการฝากเงินกินดอกเบี้ย ไปจนถึงระดับที่มีความยุ่งยากอย่างการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การเปิดธุรกิจ การซื้อขายหุ้น หรือการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง 

ในขณะที่เราอาจจะลืมไปว่าการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยงภัยด้านอื่นๆอีกมากมาย ทั้งเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วย อุบัติเหตุ เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของแผนการ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งในเรื่องของสภาพทางจิตใจ และสภาพร่างกายในบางกรณี รวมถึงส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุน และแผนการเงินในภาพรวมของเรา อันจะทำให้มูลค่าทรัพย์สินลดลง

การวางแผนป้องกันความเสี่ยงด้วยการประกันภัยจึงมีความสำคัญ ยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าการทำประกันจะไม่สามารถทดแทนความสูญเสียทางด้านร่างกายและจิตใจได้ แต่ก็สามารถเยียวยาหรือชดเชยความเสียหายต่อทรัพย์สินได้ อาจจะได้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและวางแผนการประกันมาอย่างดีและเหมาะสมนั่นเอง

สถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มูลค่าของความเสียหายในอดีตจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามสภาพเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล เมื่อ 5-10 ปีที่แล้วนั้น มีมูลค่าสูงขึ้นในวันนี้ และมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปอีกใน 5-10 ปีข้างหน้า การให้ความสำคัญในการวางแผนประกันและทบทวนความคุ้มครองจากแผนประกันที่มีอยู่จึงเป็นสิ่งจำเป็น และอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมด้วยเช่นกัน

อัตราส่วนความอยู่รอดและอัตราส่วนความมั่งคั่ง คุณผ่านเกณฑ์ 2 ข้อนี้มั๊ย?

อัตราส่วนความอยู่รอดและอัตราส่วนความมั่งคั่ง คุณผ่านเกณฑ์ 2 ข้อนี้มั๊ย?

อยากจะชวนให้เราลองเอาข้อมูลของรายรับ-รายจ่ายที่ได้บันทึกไว้มาใช้ประโยชน์กัน สำหรับคนที่มีการบันทึกรายรับรายจ่ายมาเป็นประจำ ข้อมูลที่ได้ก็จะมีความเป็นจริงมากที่สุด แต่ถ้าเราไม่ได้จดไว้หรือมีข้อมูลที่ไม่มากพอ ก็อาจจะใช้วิธีประมาณการตัวเลขของรายรับและรายจ่ายของเราในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ เพื่อพอให้เห็นภาพทางการเงินของเราโดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนแรกเรียกว่า อัตราส่วนความอยู่รอด (Survival Ratio) โดยหาได้จาก

โดยที่

  • รายได้จากการทำงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง หรือกำไรจากการทำมาค้าขาย เป็นต้น
  • รายได้จากทรัพย์สิน ได้แก่ ค่าเช่า ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลจากหุ้น, กองทุนหรือประกัน เป็นต้น

อัตราส่วนความอยู่รอดนี้ ยิ่งมากก็ยิ่งดี โดยปกติ ควรมากกว่า 1 นั่นคือคุณสามารถดำรงชีพได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ถ้าของใครน้อยกว่า 1 นั่นแสดงว่าสถานะทางการเงินของคุณแย่แล้ว ต้องรีบแก้ไขด่วน!!!

สำหรับคนที่ผ่านอัตราส่วนข้อแรกมาได้ ก็อยากชวนมาหาอัตราส่วนตัวที่ 2 กัน ตัวนี้เรียกว่า อัตราส่วนความมั่งคั่ง (Wealth Ratio) อัตราส่วนนี้จะเป็นตัวบอกว่าคุณภาพชีวิตและรากฐานทางการเงินของคุณแข็งแกร่งมากแค่ไหน โดยหาได้จาก

และเช่นเดียวกับอัตราส่วนแรก ถ้าตัวเลขที่คำนวณออกมามีค่ามากกว่า 1 (ยิ่งมากยิ่งดี) นั่นแสดงว่าคุณสามารถดำรงชีพได้ แม้จะไม่ต้องทำงานเลย อย่างไรก็ตามคุณก็เลือกที่จะทำงานได้โดยรายได้จะไม่เป็นปัจจัยหลัก แต่คุณจะทำงานด้วยความสุข ทำในสิ่งที่ชอบโดยไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายเลย แต่ถ้าต่ำกว่า 1 แสดงว่าคุณยังคงต้องเพิ่งพารายได้จากการทำงานอยู่ และถ้าคุณหยุดงานไม่ว่าจะสาเหตุอะไรก็ตาม คุณจะเริ่มมีความกังวลและความไม่สบายใจในการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะมีเงินเพียงพอให้ใช้จ่ายไปได้อีกนานเท่าไหร่

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายอะไรในชีวิต อาจจะมาตั้งเป้าหมายที่จะสร้างอัตราส่วนส่วนความมั่งคั่งให้มากกว่า 1 ก็น่าจะเป็นเป้าหมายที่ดีทีเดียว และที่สำคัญคือ ยิ่งอัตราส่วนความมั่งคั่งมีค่ามากกว่า 1 ได้เร็วเท่าไหร่ เราก็จะเกษียณได้เร็วเท่านั้น

ประกันแบบไหนจะเหมาะกับเราที่สุด

ประกันแบบไหนจะเหมาะกับเราที่สุด

สำหรับคนที่เริ่มสนใจทำประกัน เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับแบบประกันอาจจะสับสนกับแบบประกันที่มากมายและหลากหลาย ไม่ว่าจะประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ ฯลฯ 

แทนที่จะไปเริ่มต้นจากการหาข้อมูลของแบบประกัน ลองมาเริ่มดูที่ความต้องการที่แท้เราก่อนเป็นอันดับแรกน่าจะเป็นวิธีการหาแบบประกันที่ง่ายขึ้น 

” คุณจะทำประกันเพราะอะไร? “

หาเหตุผลหลักของการทำประกันในครั้งนี้ให้เจอ เช่น ถ้าคุณกำลังกังวลใจเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี แต่พอไปหาข้อมูลหรือติดต่อกับตัวแทนประกันที่ถนัดหรือเน้นขายประกันสะสะมทรัพย์ อาจจะลงเอยด้วยการได้แบบประกันสะสมทรัพย์มาแทน เพราะประกันสุขภาพเบี้ยที่จ่ายแต่ละปีนั้นเป็นเบี้ยทิ้ง (เกิดความรู้สึกเสียดายขึ้นมา) แต่เบี้ยประกันสะสมทรัพย์ดูแล้วมีผลตอบแทนกลับมาให้ด้วย ซึ่งก็จะผิดวัตถุประสงค์การทำประกันไป เพราะถึงแม้ประกันสะสมทรัพย์จะได้เงินและผลตอบแทนกลับคืนมา แต่สิ่งที่คุณกังวลในตอนแรกคือค่ารักษาพยาบาลยังคงอยู่ ไม่ได้ถูกทำให้หายไปหรือลดลงเพราะทำประกันไม่ตรงความต้องการ

เหตุผลของการทำประกันมีหลากหลาย เช่น 

  1. ค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงอยากมีค่ารักษาพยาบาลจากประกันมาช่วยในยามเจ็บป่วย
  2. สำหรับพ่อแม่ที่คำนึงถึงลูกที่ยังเล็ก ต้องการมั่นใจว่าหากวันนึงเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันทำให้ตัวเองจากไปก่อนวัยอันควร ก็จะต้องมองหาประกันชีวิตที่จะมาสร้างความมั่นใจว่า ลูกจะยังได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาที่ดีต่อไปจนกว่าเค้าจะดูแลตัวเองได้
  3. คนวัยทำงานที่เริ่มมองเห็นความสำคัญของชีวิตหลังเกษียณว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อไม่มีงานประจำให้ทำแล้ว อาจจะเริ่มมองหาแหล่งรายได้ประจำอื่น ประกันแบบบำนาญก็จะสามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้อย่างดี
  4. สำหรับเจ้าของกิจการที่มีการกู้ยืมหนี้สินมาเพื่อลงทุน คงไม่อยากให้หนี้สินเหล่านี้ต้องกลายเป็นภาระให้กับครอบครัว หากตนเองต้องมาจากไปก่อนหรือตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงซึ่งหมายถึงการที่ไม่สามารถทำงานได้แบบเดิมอีกต่อไป ประกันชีวิต และประกันควบการลงทุน ก็จะเป็นทางเลือกของการทำประกันที่ดี
  5. บางคนอาจจะเพียงต้องการหาตัวช่วยมาแบ่งเบาภาระทางภาษี ก็อาจจะเลือกประกันแบบสะสมทรัพย์ ที่ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีอย่างเต็มที่ และยังมีผลตอบแทนกลับมาอีกด้วย

นี่เป็นเพียงบางส่วนของเหตุผลการทำประกัน ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่คนเลือกทำประกัน สิ่งสำคัญคืออะไรที่เป็นเหตุผลหลักในการทำประกันครั้งนี้ คุณจะต้องหาให้เจอ และเวลาเลือกแบบประกันก็ให้ยึดมั่นกับความต้องการในจุดนั้นไว้ เหตุผลอาจมีได้หลายข้อ ไม่ผิดและไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คุณควรกำหนดเหตุผลที่สำคัญหรือเหตุผลหลักเพียงข้อเดียว จะทำให้คุณเลือกแบบประกันได้คุ้มค่าและตรงความต้องการมากที่สุด

” เตรียมงบประมาณของการทำประกันไว้เท่าไหร่? “

เมื่อได้เหตุผลของการทำประกันที่ชัดเจน เลือกประเภทแบบประกันได้แล้ว สิ่งต่อมาที่จะต้องกำหนดคืองบประมาณในการทำประกัน โดยปกติแล้วการทำประกันเราจะเลือกการทำประกันเป็นแบบรายปี แต่ก็สามารถเลือกแบ่งจ่ายเป็นรายงวดได้เช่น ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน และรายเดือน แต่ในแง่ของจำนวนเงินที่จ่ายนั้น แบบรายปีจะถูกที่สุด การแบ่งจ่ายเป็นรายงวดจะมีการคิดดอกเบี้ยทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 

ในการกำหนดงบประมาณการทำประกันนั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่จะกำหนดกันที่ประมาณ 5-10% ของรายได้ทั้งปี ตัวอย่างเช่น 

เงินเดือน 50,000 บาท 

จะมีรายได้ทั้งปีอยู่ที่ 600,000 บาท 

งบประมาณที่เหมาะสมในการทำประกันจะอยู่ที่ 30,000-60,000 บาทต่อปี

ทั้งนี้ตัวเลข 5-10% ไม่ใช่ตัวเลขที่จะเหมาะกับทุกคน เพราะขึ้นอยุ่กับภาระทางการเงินอื่นๆด้วย บางคนอาจตั้งงบได้น้อยกว่านี้หรือมากกว่านี้ก็เป็นได้

หวังว่าบทความนี้จะพอทำให้ผู้ที่กำลังคิดจะทำประกันได้แนวทางในการเลือกแบบประกันได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสมและตรงกับความจำเป็นมากที่สุดได้

แล้วคุณมีเหตุผลของการทำประกันที่ชัดเจนแล้วหรือยัง? งบประมาณที่เหมาะสมคือเท่าไหร่? ร่วมแบ่งปันไอเดียและประสบการณ์ได้ ที่นี่

ต้องการคำปรึกษาหรือคำแนะนำที่เหมาะสม สามารถฝากข้อความหรือติดต่อเราได้ ที่นี่ เช่นกัน

 

Photo by Andrea Piacquadio from Pexels

สร้างทุนประกัน 10 ล้านบาท ไม่ยากอย่างที่คิด

สร้างทุนประกัน 10 ล้านบาท ไม่ยากอย่างที่คิด

เงินหลักประกัน 10 ล้าน แทนคำว่า “รักตลอดไป”
แม้ในวันที่หมดลมหายใจ ความห่วงใยยังคงอยู่
ด้วยเงินเริ่มต้นหลักหมื่น ก็สร้างหลักประกัน 10 ล้านได้ ***

  • มรดกชิ้นสำคัญ…ที่จะทำให้คนข้างหลังคุณยังใช้ชีวิตต่อไปได้
  • มรดกชิ้นสำคัญ…ที่จะทำให้เจ้าตัวเล็กได้เรียนจนจบ
  • มรดกชิ้นสำคัญ…ที่จะทำให้หนี้สินที่มีอยู่ ไม่กลายเป็นภาระกับครอบครัว
  • มรดกชิ้นสำคัญ…ที่จะทำให้ครอบครัวมีเงินใช้จ่ายต่อได้ทันที ระหว่างรอขั้นตอนทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของคุณ

อย่าปล่อยให้คนข้างหลังต้องลำบาก เพราะการจากไปของผู้นำครอบครัว
บอกรักพวกเค้าอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักประกันที่คุณเลือกได้

ยินดีให้คำปรึกษาฟรี สนใจฝากข้อมูลไว้ เราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

*** เงินเริ่มต้นหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และสุขภาพของผู้ทำประกัน

>

ทุนประกัน 10 ล้าน
หลักประกันเพื่อครอบครัวและคนที่คุณรัก #ฝากข้อมูลเบื้องต้นของคุณไว้ ทางทีมงานจะประเมินทางเลือกการสร้างหลักประกันที่ทำได้ และจะติดต่อกลับตามช่วงเวลาที่คุณระบุไว้ / ขอบคุณที่ให้ความสนใจครับ 🙂
วางแผนการเงินแบบองค์รวม

วางแผนการเงินแบบองค์รวม

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิต แผนทางการเงินมีส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เราจะอยู่เป็นเพื่อนคุณตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายอย่างเหมาะสม ค้นหาวิธีการเพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินและชีวิตที่คุณต้องการอย่างปลอดภัย
เริ่มต้นวางแผน

เริ่มต้นวางแผนการเงิน

เริ่มต้นวางแผนการเงิน

เงิน นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญกับการดำรงชีพของคนในปัจจุบัน ถึงแม้เงินจะไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่การมีเงินให้ใช้จ่ายอย่างพอเพียงและเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข และสะดวกสบายขึ้น

การบริหารจัดการด้านการเงินเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญทักษะหนึ่ง เพราะตลอดช่วงชีวิตของคนเรา จะมีช่วงต้นของชีวิตที่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นในการเลี้ยงดู จนกว่าเราจะเติบโตจนสามารถหาเลี้ยงชีพได้ มีช่วงเวลาที่เรามีความสามารถหาเงินมาใช้จ่ายได้ด้วยตนเองและมากพอที่จะเลี้ยงดูหรือแบ่งปันให้บุคคลอื่น จนถึงช่วงท้ายของชีวิตในวัยชราที่เราไม่สามารถทำงานหารายได้มาเพื่อใช้จ่ายได้ 

ดังนั้นการวางแผนทางการเงินจะช่วยให้เราสามารถจัดสรรทรัพยากรหรือเงิน ให้เพียงพอที่จะใช้ไปตลอดทุกช่วงของชีวิตอย่างเหมาะสม การวางแผนการเงินยังเปรียบเสมือนการวางแผนชีวิต โดยการวางแผนการเงินที่ดีจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้

กระบวนการวางแผนการเงินประกอบไปด้วย ขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้นตอน

  1. ตรวจสอบสถานะทางการเงินในปัจจุบัน การสำรวจสถานะตัวเองเปรียบเสมือนการหาจุดเริ่มต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะเป็นตัวกำหนดว่า ณ ปัจจุบันเราอยู่ที่ตรงไหน จากนั้นเราจึงจะสามารถกำหนดเป้าหมายและเส้นทางที่เป็นไปได้ที่จะไปยังเป้าหมายอย่างเหมาะสม การตรวจสอบสถานะทางการเงินทำได้ง่ายๆ ด้วยการเริ่มต้นบันทึกรายรับ รายจ่ายของตัวเองในแต่ละวัน เพื่อในตอนสุดท้ายเราจะมาสรุปว่าในแต่ละเดือนเรามีกระแสเงินสด หรือการไหลเข้า ไหลออกของเงินเป็นอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นก็เป็นการทำบันทึกรายทรัพย์สิน รวมถึงหนี้สิน ณ ปัจจุบัน โดยตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงิน ทั้งหมดนี้เพื่อให้รู้สถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบันของเรานั่นเอง
  2. กำหนดเป้าหมายทางการเงินอย่างเหมาะสม เป้าหมายทางการเงินสามารถแบ่งเป็นระยะต่างๆ ได้ 3 ระยะ คือ เป้าหมายระยะสั้น (ประมาณ 1-3 ปี), เป้าหมายระยะกลาง (ประมาณ 3-7 ปี) และเป้าหมายระยะยาว (ตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป) เราสามารถกำหนดเป้าหมายได้หลายเป้าหมายแต่ก็ควรกำหนดความสำคัญของเป้าหมายไว้ด้วย และหนึ่งในเป้าหมายที่คนทุกคนต้องมีคือ วางแผนเกษียณอายุ เพราะเมื่อถึงเวลานั้น หากเราไม่มีเงินพอ การใช้ชีวิตในช่วงที่ร่างกายไม่ได้แข็งแรงเหมือนเดิม ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่คงเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก
  3. มองหาเส้นทาง หรือทางเลือกต่างๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ในกระบวนการนี้จะต้องอาศัยการหมั่นหาความรู้ทางด้านการเงิน เพราะความรู้ทางการเงินจะเป็นตัวช่วยให้เรามองเห็นทางเลือกอื่นที่มากขึ้น เข้าใจข้อจำกัดของแต่ละทางเลือก ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดตลอดไป ทุกทางเลือกมีข้อดี ข้อด้อยในตัวเอง บางทางเลือกเหมาะกับคนช่วงอายุหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะกับคนอีกช่วงอายุหนึ่งก็ได้
  4. ประเมินทางเลือก เมื่อเราได้ทางเลือกต่างๆ มาแล้ว ก็มาถึงกระบวนการที่สำคัญ คือการประเมินทางเลือกต่างๆ หาข้อดี ข้อด้อย เพื่อนำมาปรับและเลือกใช้ให้เหมาะกับช่วงชีวิตของเรา ในขั้นตอนนี้เราจะจัดทำเป็นแผนการออกมาเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดวิธีการดำเนินการของแผนทางการเงิน เช่น ในแต่ละเดือน เราจะแบ่งเงินออมเท่าไหร่ แล้วจะนำไปออมไว้ในที่ใดบ้าง เช่น ฝากธนาคาร ซื้อกองทุน ซื้อหุ้น หรือทำประกัน ฯลฯ
  5. นำแผนการเงินไปปฏิบัติ เมื่อได้ทางเลือกและกำหนดแผนมาแล้ว ก็เข้าสู่การนำไปปฏิบัติจริง เพราะลำพังการเขียนแผนไว้เฉยๆ ไม่ได้ทำให้เป้าหมายกลายเป็นจริงได้ ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาที่ยาวนานไปตามแผนที่ได้วางไว้ เรียกได้ว่าทำไปตลอดชีวิตของเราเลยก็ว่าได้ 
  6. ทบทวนและปรับปรุง แผนการเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ระหว่างทางจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม เช่น การย้ายงาน การแต่งงาน การมีบุตร การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ฯลฯ ทุกอย่างล้วนมีผลกระทบกับแผนการเงินที่ได้วางไว้ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เหมาะสมอยู่เสมอ โดยทั่วไปหากเป็นสภาวะปกติอาจจะปีละครั้ง แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์พิเศษ ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ทันที

สำหรับผู้ที่ไม่เคยวางแผนการเงินมาก่อนเลย เราสามารถเริ่มต้นได้ทันทีจากการทำรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของเราขึ้นมา และเริ่มการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย นันตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

ในตอนต่อๆ ไป เราจะมาลงในรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายทางการเงิน อันจะนำมาซึ่งความสุขอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิตของเรา

ไวรัสโควิด เร่งให้ดอกเบี้ยเข้าใกล้ 0% มากขึ้น

ไวรัสโควิด เร่งให้ดอกเบี้ยเข้าใกล้ 0% มากขึ้น

โควิด ทำให้หลายประเทศพยายามแก้ปัญหาด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจ และหนึ่งในวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจก็คือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อให้ธุรกิจมีต้นทุนของการกู้ยืมที่ลดลง และยังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้ สามารถจ้างงาน ทำให้เงินหมุนเวียน มีการใช้จ่าย และเศรษฐกิจจะค่อยๆดีขึ้น

แต่การลดดอกเบี้ยเองนั้น ก็ส่งผลให้คนที่ฝากเงินต้องเสียรายได้จากดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยเกษียณที่จะหวังพึ่งพาดอกเบี้ยจากเงินฝากด้วยเงินที่เก็บออมมาทั้งชีวิต แต่ผลตอบแทนจากเงินฝากในปัจจุบัน (เมษายน 2563) นั้นเหลือไม่ถึงบาท (0.75% ต่อปี) 

ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย หลายๆ ประเทศดอกเบี้ยเป็น 0% เสียด้วย นั่นคือไม่มีดอกเบี้ยสำหรับการฝากเงิน แต่ที่แย่กว่านั้น บางประเทศใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า การฝากเงินจะต้องเสียค่าฝากอีกต่างหาก และดอกเบี้ยที่เป็นขาลงมาเรื่อยๆ แบบนี้ก็เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้ว หวังว่าประเทศไทยคงไม่ถึงกับต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ แค่เข้าใกล้ 0 ก็แย่มากอยู่แล้ว

หากไม่เริ่มเรียนรู้เรื่องการลงทุน หรือมองหาแหล่งออมเงินที่ดีกว่าเงินฝาก การเกษียณอย่างมีความสุข คงจะลำบากเสียแล้ว…

Photo by Christian Ferrari from FreeImages

วางแผนการลงทุน

วางแผนการลงทุน

ให้คำปรึกษาและแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการใช้กองทุนรวม ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุนของแต่ละบุคคล
เริ่มต้นลงทุน